Uncategorized

ทำไม 7 ปีแรกของคน ถึงกำหนดรายได้ทั้งชีวิต

ทำไม 7 ปีแรกของคน ถึงกำหนดรายได้ทั้งชีวิต

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมคนรวยถึงรวยขึ้นเรื่อย ๆ แล้วทำไมคนที่มีรายได้น้อยถึงจนลง
.
.
สำหรับผม…. คำถามนี้เป็นสิ่งที่ผมสังเกตเห็นตั้งแต่สมัยผมเรียนวิชาการเงินตอนช่วง ป.ตรี แต่เริ่มเห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น หลังจากเริ่มทำงานในสายตลาดเงินตลาดทุนตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
.
“ความเหลื่อมล้ำทางสังคม” คือสิ่งที่นักวิชาการอธิบายปรากฏการณ์นี้ครับ
.
แต่บทวิจัยของ Dr. Bruce Lipton นักเขียนและนักวิจัยชื่อดังชาวอเมริกันกลับบอกว่า “เชื่อไหมครับว่า ความรวย ความจน ของแต่ละคนนั้นส่วนใหญ่ถูกกำหนดมาตั้งแต่ช่วง 7 ปีแรกของชีวิตพวกเราครับ”
.
โอ้โห….. อ่านแค่นี้ก็รู้สึกตื่นเต้นละครับ
.
===========
.
“มนุษย์ทุกคน ในช่วง 7 ปีแรกที่เราเกิดมาสำคัญมากๆครับ เปรียบเสมือนช่วงที่ถูกสะกดจิต” “เป็นช่วงเวลาที่สมองของพวกเรา อยู่ในคลื่นความถี่ต่ำ” Dr. Bruce เริ่มขยายความครับ
.
ทีมวิจัยหลายทีมเคยทดสอบสมองของคน เหมือนในหนังอะครับ ที่เค้าเอาหมวกที่เต็มไปด้วยลวดและประจุไฟฟ้าไปสวมให้กับเด็กๆ สิ่งที่น่าทึ่งคือ เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี จะมีคลื่นความถี่ต่ำ ในระดับจิตใต้สำนึกครับ
.
สิ่งนี้ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Theta”
.
เจ้า “Theta” เนี่ยละครับ ที่ภาษาบ้านๆเราเรียกว่าเป็นส่วนที่สร้าง จินตนาการให้กับเด็กๆ
.
พูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือ
.
มันคือส่วนที่ทำให้เด็กๆ เล่นสร้างบ้าน , เล่นปาร์ตี้กับเพื่อนๆด้วยการปั้นดิน, ลองขี่ไม้กวาด แล้วจินตนาการว่ามันคือ ม้า
.
สำหรับผู้ใหญ่แล้วอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ในสมองของเด็กจะคิดว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริง พวกเค้ากำลังสร้างบ้าน พวกเค้ากำลังมีความสุขกับการสร้างสรรค์อะไรบางอย่างขึ้นมา พวกเค้ากำลังขี่ม้า เป็นต้นครับ
.
===========
.
ย้ำอีกครั้งครับว่า ช่วง 7 ปีแรกของทุกคนคือช่วงชีวิตที่สำคัญสุดๆครับ “เด็กๆจะเฝ้าดู พ่อแม่” “เฝ้าดูพฤติกรรมของพี่หรือน้อง”
.
เด็กๆจะเรียนรู้ ซึมซับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่รอบตัว เปรียบเสมือนกับการ download โปรแกรม เจ้า “Theta” ลงสมองแบบไม่ทันรู้ตัว
.
“ผมยกตัวอย่างหนังสือ Rich Dad, Poor Dad ที่เค้าบอกว่า ถ้าเราเติบโตมาจากครอบครัวที่ยากจน ก็มีโอกาสสูงมากที่เราจะต้องดิ้นรนไปตลอดชีวิต แต่ในท้ายที่สุดเราก็ยังไม่รวยอยู่ดี”
.
“แต่ถ้าเราเติบโตมาจากครอบครัวที่ร่ำรวยมาก ต่อให้เราไม่ใช่คนฉลาด สุดท้ายเราก็ยังมีโอกาสสูงมากที่เราจะเป็นคนรวยอยู่ดี” (เรากำลังพูดถึงคนส่วนใหญ่นะครับ และไม่นับการเข่นฆ่ากันอย่างเรื่อง เลือดข้นคนจาง นะครับ หรือลูกเศรษฐีบางคนที่ติดการพนัน)
.
สิ่งที่ ดร. Bruce อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ มันเป็นผลมาจากจิตใต้สำนึก ที่พ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวยปลูกฝังให้กับลูกๆ โดยที่ไม่รู้ตัว
.
ทำให้เด็กๆซึมซับวิธีคิด วิธีการตัดสินใจบางอย่างคล้ายๆกับคุณพ่อคุณแม่ แบบที่ไม่รู้ตัว
.
เช่นเดียวกับครอบครัวที่ยากจนครับ ที่เด็กส่วนใหญ่นั้นจะซึมซับทัศนคติว่า
.
”ชีวิตนี้มันช่างเศร้านัก” “ชีวิตเราไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้”
.
“การจะทำสิ่งใดก็ตาม มักจะเต็มไปด้วยอุปสรรค อย่าทำเลยดีกว่า” “คุณคิดว่า คุณเป็นใคร คุณไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จอยู่แล้ว”
.
พูดง่ายคือ ทัศนคติในวัยเด็ก ในระดับจิตใต้สำนึก มีผลต่อชีวิตความสำเร็จของเราตอนโตมากถึง 95%!!
.
และนี่คือสิ่งที่บอกว่า ทำไมคนรวยถึงรวยขึ้น แล้วทำไมคนที่มีรายได้น้อยถึงจนลง
.
===========
.
“95% ของโอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จในชีวิตมาจากจิตใต้สำนึกของเรา”
.
“มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราตั้งโปรแกรม สอนเด็กๆตั้งแต่ตอนเค้าอายุยังไม่ถึง 7 ขวบ” “มีเพียงแค่ 5% ของชีวิตของเราเท่านั้น ที่เป็นผลจากจิตสำนึก เช่น ความคิดสร้างสรรค์”
.
ดร.Bruce ย้ำผลการวิจัยทำให้ผมเองก็ต้องกลับมานั่งทบทวน สังเกตคนรอบข้างว่าเป็นตามที่แกบอกไหมครับ
.
คิดไปคิดมา ก็เห็นด้วยครับ (ถ้าท่านไม่เห็นด้วยสามารถแย้งได้นะครับ มาแชร์ความเห็นกันครับ)
.
ถ้าเรามีลูกหลาน อายุยังไม่ถึง 7 ขวบ เรายังพอแก้ไขได้ ปลูกฝังทัศนคติใหม่ๆให้ได้ แต่ คำถามคือ ถ้าเป็นตัวเราละ อายุปูนนี้แล้ว จะมีทางแก้ยังไงบ้าง?
.
คำตอบ คือ มีครับ
.
===========
.
ขั้นตอนแรก: เราต้องเข้าใจก่อนว่า ชีวิตนี้เรารู้สึกว่า เรายากลำบากตรงไหนบ้าง?
.
ดร.Bruce แนะนำให้เราตั้งสติ แล้วคิดทบทวนให้ดีว่า สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราส่วนไหน ที่เราต้องทำการบ้านหนักมากกว่าจะทำแล้วสำเร็จ, อะไรบ้างที่เราต้องทุ่มเทสุดๆถึงจะทำได้ดี
.
เช่นบางคนคิดเลขช้ามาก แต่บางคนก็เล่นดนตรีไม่เป็นเลย
.
พอเข้าใจตัวเองแล้ว ก็ไปดูขั้นตอนที่ 2 ต่อครับ
.
===========
.
ขั้นตอนที่ 2: ในเมื่อรู้แล้วว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหน เราก็ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ขีวิตของเราเอง ด้วยการตั้งโปรแกรมใหม่เข้าไปในจิตใต้สำนึกของเราครับ
.
จิตใต้สำนึก เกิดจากการเรียนรู้ได้สองแบบ แบบแรกคือ การปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับชีวิตตั้งแต่ 7 ปีแรก
.
แต่ถ้าอายุเกิน 7 ขวบแล้ว สิ่งที่ทำได้คือ “การทำซ้ำ” และ “การฝึกฝน” ครับ
.
เช่น ทักษะการขับรถ เราไม่ได้เรียนการขับรถจากการเข้าไปนั่งในรถ แล้วบิดกุญแจ จริงไหมครับ แต่เราต้องฝึกฝน ทดลองขับ ทดลองลงถนนบ่อยๆ
.
หรืออีกอย่างคือ การเรียนตัวอักษร A ถึง Z , เราต้องท่องกี่รอบ กว่าจะจำได้ แต่สังเกตไหมครับว่า ถ้าเราขับรถเป็นแล้ว หรือถ้าเราท่องตัวอักษร A ถึง Z ได้แล้ว เราแทบจะไม่ต้องมาฝึกฝนใหม่เลย
.
ประมาณว่าถ้าทำเป็นแล้ว ก็จะทำเป็นเลยตลอดชีวิตว่างั้นเถอะครับ
.
อีกตัวอย่างคือ ถ้าเราเป็นคนที่ไม่มีมีความสุข เราก็ต้องพูดซ้ำ กับตัวเองบ่อย ๆ เช่น “ผมมีความสุขมาก” “ผมมีความสุขมาก” ถ้าเราพูดบ่อย นั่นเท่ากับว่าเรากำลังพูดกับจิตใต้สำนึกของเราครับ
.
เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตใต้สำนึกของเรา เข้าใจคำว่า “ ผมมีความสุขมาก” เมื่อนั้นเราก็มีโอกาสที่จะเป็นคนที่มีความสุขได้เช่นกัน
.
และเมื่อไหร่ก็ตามที่จิตใต้สำนึกของเรา ฝังโปรแกรมใหม่เข้าไปแล้วว่า “ผมมีความสุขมาก” เราก็ไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำ ๆอีกแล้ว เพราะมันฝังเข้าไปข้างในแล้ว
.
===========
.
หลักๆแล้วต้องฝึกฝน ให้เป็นนิสัย และพูดบ่อยว่า เราทำได้ เรามีโอกาสประสบความสำเร็จ
.
พูดบ่อย ๆอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องลงมือทำด้วย ฝึกฝนบ่อย ๆ เราเองก็เข้าใกล้ความสำเร็จไปอีกขั้น
.
แชร์ข้อความต่อให้คนที่คุณรักและแชร์ข้อความต่อให้คนที่อยากพัฒนาตัวเองสู้สู้ครับ
.
เราเป็นกำลังใจให้ครับ 🙂
=============

ไม่อยากพลาด! Add line@ไว้นะครับ
.
https://line.me/ti/p/%40Tam-eig
.
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพจาก Drybrush Lipton

Comments are closed.